ขั้นตอนการบันทึกยอดยกมา
1. การบันทึกยอดยกมาของสินค้า ให้คลิกที่ปุ่มคำสั่ง “New” ที่ส่วนท้ายรายการ
2. เมื่อคลิกคำสั่ง “New” แล้ว จะปรากฏหน้าจอสำหรับบันทึกยอดยกมาของสินค้า โดยภายในหน้าจอมีช่องข้อมูลสำหรับบันทึก ดังนี้
1) รหัสสินค้า สำหรับระบุสินค้าที่ต้องการยกยอดมา โดยคลิกที่ หรือคลิกขวาที่ช่องข้อมูลเพื่อเลือกรหัสสินค้า และโปรแกรมจะแสดงชื่อสินค้าที่ท้ายช่องรหัสสินค้า
รหัสสินค้าที่ดึงมาบันทึกยอดยกมาได้ เป็นรหัสสินค้าประเภท Item, Lot และ Serial ส่วนสินค้าประเภท Service จะไม่สามารถบันทึกยอดยกมาได้ เนื่องจากสินค้าประเภทนี้เป็นสินค้าประเภทบริการจึงไม่มียอดยกมา การบันทึกสินค้าประเภท Service จะบันทึกที่ใบรับเข้าในระบบสินค้าคงคลัง (IC)
2) ปริมาณ สำหรับระบุปริมาณของสินค้า หน่วยนับของปริมาณจะเปลี่ยนไปตามรหัสสินค้าที่กำหนดไว้ โดยโปรแกรมจะ Default เป็นหน่วยนับเล็กสุด
3) ต้นทุน/Lot สำหรับระบุยอดต้นทุนต่อ Lot ของสินค้า
4) รหัสตัวแปร สำหรับระบุรหัสตัวแปรต่าง ๆ โดยวิธีระบุรหัสจะใช้วิธีเดียวกับรหัสสินค้า และโปรแกรมจะแสดงชื่อของรหัสไว้ที่ท้ายช่องข้อมูล
เมื่อระบุข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้คลิก “OK” เพื่อบันทึก
ส่วนรายการยอดยกมาสินค้า แสดงรายการสินค้าในรูปแบบตาราง ประกอบไปด้วยคอลัมน์รหัสสินค้า, ชื่อสินค้า, รหัสสโตร์, ปริมาณ, หน่วยนับ, ปริมาณขนาน, ต้นทุน, ประเภทสินค้า, วันหมดอายุ และรหัสตัวแปรต่าง ๆ โดยโปรแกรมจะคำนวณต้นทุนรวมของยอดยกมารหัสสินค้าทั้งหมดให้ที่หน้ารายการนี้
เมื่อมีการยกยอดสินค้าไปยังต้นไตรมาสหนึ่ง ๆ แล้ว ผู้ใช้งานจะไม่สามารถกลับไปแก้ไข Post หรือ Link ข้อมูลใด ๆ (ไม่ว่าจะเป็นระบบซื้อ-ขาย สินค้าคงคลัง) ก่อนหน้าวันที่ยกยอดได้อีก ผู้ใช้งานจึงต้องปิดงานให้เสร็จก่อนการยกยอด
ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขยอดยกมาของสินค้าต่าง ๆ ได้ ต่อเมื่อไม่เคยมีการยกยอดสินค้า และหากไม่เคยมีการกำหนดยอดยกมา เมื่อเข้าใช้งานครั้งแรกโปรแกรมจะแจ้งเตือนให้ระบุวันที่ยอดยกมาครั้งแรก
ในการยกยอดนั้น ผู้ใช้งานจะต้องระบุวันที่ที่ต้องการจะยกยอดเป็นวันที่ 1 ของแต่ละไตรมาสเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดการยกยอดบ่อยเกินไป โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามเดือน เช่น ยกยอดครั้งที่ 1 เลือกวันที่ 1 เดือน 4 ต่อมา ครั้งที่ 2 อาจเป็น วันที่ 1 เดือน 10 ครั้งที่ 3 อาจเป็น วันที่ 1 เดือน 7 ของปีถัดไปก็ได้ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้และความเร็วในการเรียกรายงาน
ส่วนท้ายหน้ารายการ ประกอบไปด้วยช่องข้อมูลสำหรับกรองรหัส และข้อมูลอื่น ๆ มีรายละเอียดดังนี้
1) จำนวนรายการ แสดงจำนวนรวมของรายการสินค้าที่ยอดยกมาทั้งหมด 2) Balance Forward แสดงวันที่ของวันที่ยอดยกมาต้นปีการบัญชี
3) ตัวกรองรหัส เป็นช่องข้อมูลสำหรับกรองรหัสสินค้า และรหัสตัวแปรต่าง ๆ เพื่อเลือกดูเฉพาะรหัสที่ต้องการให้แสดงบนหน้ารายการยอดยกมา
4) ยอดรวม เป็นยอดรวมของต้นทุนสินค้าทั้งหมดทุกรายการที่ได้ทำการยกมา
การกรองข้อมูลโดยใช้เมนูที่ส่วนท้ายหน้ารายการรหัส
เป็นการกรองข้อมูลโดยใช้เมนูที่ส่วนท้ายหน้าแสดงรายการรหัส
เพื่อเลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยหน้าแสดงรายการยอดยกมาระบบสินค้าคงคลัง
สามารถเลือกกรองข้อมูลได้ 5 อย่าง ดังนี้
1) สินค้า - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสสินค้า”
2) สโตร์ - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสสโตร์”
3) แผนก - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสแผนก”
4) งาน - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสงาน”
5) ผู้ขาย - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสผู้ขาย”
ขั้นตอนการกรองข้อมูล
สามารถเลือกแสดงข้อมูลในหน้าแสดงรายการยอดยกมาระบบสินค้าคงคลัง
ได้ 2 วิธี ดังนี้
1. การกรองข้อมูลโดยคลิกที่ Icon ในช่องข้อมูล
เป็นการกรองข้อมูลสำหรับช่อง “สินค้า / สโตร์ / แผนก / งาน / ผู้ขาย” โดยใช้ Icon เพื่อแสดงเฉพาะรายการกลุ่มที่ต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.1 คลิกที่ Icon ในช่องข้อมูล เพื่อแสดงหน้าจอรายการรหัส
1.2 เลือกรหัสที่ต้องการ และคลิกที่ปุ่ม “OK” เพื่อยืนยัน หรือดับเบิลคลิกเลือกรหัสที่ต้องการ
1.3 จะปรากฏรหัสที่เลือกในช่อง “สโตร์” ตามที่เลือก จากนั้นกดปุ่ม “Enter” บนแป้นพิมพ์
1.4 โปรแกรมจะแสดงเฉพาะรายการรหัสที่เลือก ตามรูป
2. การกรองข้อมูลโดยพิมพ์คำสำคัญในช่องข้อมูล
เป็นการกรองข้อมูลสำหรับช่อง “สินค้า / สโตร์ / แผนก / งาน / ผู้ขาย” โดยระบุรหัส หรือคำสำคัญในช่องข้อมูล เพื่อแสดงเฉพาะรายการรหัสที่ต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้
2.1 คลิกช่องข้อมูลที่ต้องการ และระบุรหัส หรือคำสำคัญที่ช่องข้อมูล
2.2 จากนั้นกดปุ่ม “Enter” บนแป้นพิมพ์ โปรแกรมจะแสดงเฉพาะรายการรหัสตามที่ระบุในช่องข้อมูล
รายละเอียดของข้อมูลยอดยกมา
ข้อมูล
|
ประเภท
|
ความยาว/Limit
|
รหัสสินค้า
|
ตัวเลข
|
25
|
รหัสสโตร์
|
ตัวเลข
|
25
|
รหัสแผนก
|
ตัวเลข
|
25
|
รหัสงาน
|
ตัวเลข
|
25
|
รหัสพนักงาน
|
ตัวเลข
|
25
|
รหัสเอกสาร
|
ตัวเลข
|
25
|
รหัสส่วนขยาย
|
ตัวเลข
|
25
|