5. เงินสดย่อย

5. เงินสดย่อย

คำจำกัดความ 

            เงินสดย่อย เป็นเมนูสำหรับควบคุม และตั้งวงเงินสดย่อยให้แก่พนักงานในองค์กร เพื่อให้พนักงานจัดการซื้อขายได้ ก่อนที่จะบันทึกใบสำคัญในระบบเงินสดย่อย (PA) จะต้องกำหนดวงเงินที่หน้ารหัสนี้ก่อน จึงจะสามารถบันทึกใบสำคัญในระบบเงินสดย่อยได้

ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบ

            การกำหนดวงเงินสดย่อยสามารถเลือกว่าจะกำหนดบัญชีค่าใช้จ่ายเป็นแบบใด โดยมี 2 ข้อเลือกว่าจะบันทึกเป็นรหัสบัญชี หรือ สูตรบัญชี-รหัสจัดสรร อย่างใดอย่างหนึ่ง
1. บัญชีค่าใช้จ่าย เป็นการกำหนดวงเงินให้เป็นบัญชีสำหรับค่าใช้จ่าย โดยกำหนดบัญชีจากรหัสบัญชี ซึ่งดึงรหัสมาจากผังบัญชี
2. สูตรบัญชี-รหัสจัดสรร เป็นการกำหนดวงเงินโดยใช้บัญชีแบบรหัสจัดสรร เพื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายให้แก่วงเงินที่ตั้งขึ้น ซึ่งการใช้สูตรบัญชี-รหัสจัดสรร จะต้องตั้งสูตรจากเมนูรหัสสูตรบัญชี-จัดสรรก่อนจึงจะกำหนดเป็นรูปแบบบัญชีนี้ได้

ขั้นตอนการตั้งวงเงินสดย่อย

1. คลิกที่กลุ่มเมนู “การตั้งรหัส >> งานบัญชี >> เลือกเมนู เงินสดย่อย

2. โปรแกรมจะแสดงหน้าการตั้งรหัสเงินสดย่อย การตั้งวงเงินสดย่อยให้คลิกที่ปุ่ม "New" ที่ส่วนท้ายรายการ เพื่อเพิ่มข้อมูลให้แก่วงเงิน

3. โปรแกรมจะแสดงหน้าจอ สำหรับระบุข้อมูลเกี่ยวกับวงเงินสดย่อย โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. รหัสวงเงิน สำหรับกำหนดชื่อวงเงินสดย่อย การตั้งรหัสวงเงินจะต้องตั้งไม่ซ้ำกับรหัสวงเงินสดย่อยอื่น เป็นช่องข้อมูลบังคับ สามารถระบุได้ความยาวสูงสุด 25 ตัวอักษร/ตัวเลข
2. พนักงานผู้รับผิดชอบ คือ พนักงานผู้ถือวงเงิน ซึ่งพนักงานรายนี้อาจเป็นผู้เบิก หรือเคลียร์วงเงินได้ หากเป็นผู้ใช้งานในระบบด้วย ขึ้นอยู่กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
            โปรแกรมบังคับให้ต้องระบุพนักงานผู้รับผิดชอบวงเงิน เพื่อให้ทราบว่าวงเงินที่กำหนดขึ้นใช้ในส่วนงานใด วิธีการระบุพนักงานให้คลิกขวาหรือคลิกที่ Icon  เพื่อเลือกรายชื่อพนักงาน
3. รายละเอียด (T/E) สำหรับระบุชื่อวงเงินสดย่อยเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ สามารถระบุได้ความยาวสูงสุดไม่เกิน 250 อักษร
4. วงเงินสด สำหรับระบุยอดเงินที่ตั้งเป็นเงินสดย่อย สามารถตั้งวงเงินได้สูงสุดถึง 1 ล้าน
5. ผู้ใช้งานที่ทำการเบิกได้ คือ ผู้ใช้งานระบบที่มีหน้าที่บันทึกเบิกจ่าย สามารถระบุผู้ใช้งานระบบได้หลายคนโดยการใส่เครื่องหมาย , (ลูกน้ำ) คั่นไว้ ผู้เบิกจ่ายอาจเป็นพนักงานผู้ถือวงเงินเอง หรือเป็นผู้ใช้งานที่เคลียร์วงเงินด้วยก็ได้ 
            โปรแกรมบังคับให้ต้องระบุผู้ใช้งานที่ทำการเบิกวงเงิน เพื่อเป็นการกำหนดผู้มีสิทธิในการเบิกจ่ายวงเงิน วิธีการระบุผู้ใช้งานให้คลิกขวา หรือคลิกที่ Icon  เพื่อเลือกรายชื่อผู้ใช้งานระบบ
6. ผู้ใช้งานที่ทำการเคลียร์ได้ คือ ผู้ใช้งานระบบที่มีหน้าที่บันทึกเคลียร์ค่าใช้จ่ายวงเงิน ว่ามียอดเหลือเท่าใด ใช้ไปเท่าใด สามารถระบุผู้ใช้งานระบบได้หลายคนโดยการใส่เครื่องหมาย , (ลูกน้ำ) คั่นไว้ ผู้บันทึกค่าใช้จ่ายอาจเป็นพนักงานผู้ถือวงเงินเอง หรือเป็นผู้ใช้งานที่เบิกจ่ายวงเงินด้วยก็ได้
            โปรแกรมบังคับให้ต้องระบุผู้ใช้งานที่ทำการบันทึกเคลียร์ค่าใช้จ่ายวงเงิน เพื่อเป็นการกำหนดผู้มีสิทธิในการเคลียร์วงเงิน วิธีการระบุผู้ใช้งานให้คลิกขวา หรือคลิกที่ Icon  เพื่อเลือกรายชื่อผู้ใช้งานระบบ
7. รหัสตัวแปร สำหรับระบุรหัสตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ รหัสงาน, รหัสแผนก, รหัสเอกสาร และรหัสส่วนขยาย การระบุรหัสตัวแปรเพื่อให้ทราบว่าวงเงินสดนี้จะใช้กับงานใด แผนกใด ใช้เอกสารใดบ้าง การระบุรหัสตัวแปรให้คลิกขวา หรือคลิกที่ Icon   เพื่อเลือกรหัส
8. รหัสบัญชีวงเงินสด สำหรับระบุรหัสบัญชีที่ใช้ในการถือวงเงินสดย่อย โปรแกรมบังคับให้ระบุรหัสบัญชีให้แก่ช่องข้อมูลนี้ เพื่อให้ทราบว่าวงเงินที่ได้ทำการเบิกไปแล้วอยู่ในบัญชีใด การระบุรหัสบัญชีให้คลิกขวา หรือคลิกที่ Icon  เพื่อเลือกรหัสบัญชี
9. บัญชีธนาคาร (เบิกจ่าย) สำหรับกำหนดรหัสบัญชีที่ใช้ในการเบิกเงิน การระบุรหัสบัญชีให้คลิกขวา หรือคลิกที่ Icon  เพื่อเลือกรหัสบัญชี
10. บัญชีค่าใช้จ่าย/สูตรจัดสรร สำหรับกำหนดบัญชีค่าใช้จ่าย โดยสามารถกำหนดได้ 2 ประเภท ได้แก่ รหัสบัญชี และสูตรบัญชีรหัสจัดสรร การกำหนดให้คลิก  เลือกที่ประเภทบัญชี เลือกได้ 1 ประเภทเท่านั้น

เมื่อเลือกประเภทบัญชีแล้ว โปรแกรมจะปรับช่องสำหรับระบุรหัส ให้ตามประเภทบัญชีที่ใช้ดังนี้
  1. บัญชีค่าใช้จ่าย โปรแกรมปรับให้ระบุรหัสบัญชีค่าใช้จ่าย เมื่อโปรแกรมสร้างใบสำคัญงานบัญชีจะบันทึกรายการบัญชีเป็นบัญชีค่าใช้จ่าย ที่กำหนดไว้ในช่องข้อมูลนี้
  2. สูตรบัญชี-รหัสจัดสรร โปรแกรมปรับให้ระบุสูตรบัญชีรหัสจัดสรร เมื่อโปรแกรมสร้างใบสำคัญงานบัญชีจะบันทึกรายการบัญชีเป็นสูตรบัญชี ที่กำหนดไว้ในช่องข้อมูลนี้
11. สมุดบัญชีเบิกจ่าย เป็นการกำหนดสมุดบัญชีสำหรับเบิกค่าใช้จ่าย โดยโปรแกรมจะบันทึกใบสำคัญงานบัญชีให้ตามสมุดที่กำหนดในช่องข้อมูลนี้ (ผู้ใช้งานอาจกำหนดเป็นสมุดบัญชีเงินสดย่อย โดยตั้งสมุดบัญชีที่หน้าผังบัญชี)
12. สมุดบัญชีเคลียร์ สำหรับกำหนดสมุดบัญชีเคลียร์ค่าใช้จ่าย โดยโปรแกรมจะบันทึกใบสำคัญงานบัญชีให้ตามสมุดที่กำหนดในช่องข้อมูลนี้ (ผู้ใช้งานอาจกำหนดเป็นสมุดบัญชีเงินสดย่อย โดยตั้งสมุดบัญชีที่หน้าผังบัญชี)
                  เมื่อเลือกสมุดบัญชีแล้วให้กำหนดรูปแบบเลขที่ใบสำคัญ เนื่องจากโปรแกรมจะสร้างใบสำคัญงานบัญชีให้อัตโนมัติ โดยใช้รูปแบบเลขที่ใบสำคัญตามที่กำหนดไว้ในช่องข้อมูลนี้
13. Memo คือบันทึกช่วยจำ ใช้สำหรับระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวงเงิน

14. Attached file ใช้สำหรับแนบไฟล์ เพื่ออ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเปิดใช้งานผ่าน DI : YE-AF01
            เป็นการกรองข้อมูลโดยใช้เมนูที่ส่วนท้ายหน้าแสดงรายการรหัส เพื่อเลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยหน้าแสดงรายการรหัสวงเงินสดย่อย สามารถเลือกกรองข้อมูลได้ 2 อย่าง ดังนี้

            1) หมวดหมู่ - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสวงเงิน”
            2) พนักงานผู้รับผิดชอบ - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสพนักงาน”

ขั้นตอนการกรองข้อมูล

สามารถเลือกแสดงข้อมูลในหน้าแสดงรายการรหัสวงเงินสดย่อย ได้ 2 วิธี ดังนี้

1. การกรองข้อมูลโดยคลิกที่ Icon ในช่องข้อมูล

เป็นการกรองข้อมูลสำหรับช่อง “พนักงานผู้รับผิดชอบ” โดยใช้ Icon  เพื่อแสดงเฉพาะรายการกลุ่มที่ต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้
            1.1 คลิกที่ Icon  ในช่องข้อมูล เพื่อแสดงหน้าจอรายการรหัส

            1.2  เลือกรหัสที่ต้องการ และคลิกที่ปุ่ม “OK” เพื่อยืนยัน หรือดับเบิลคลิกเลือกกลุ่มที่ต้องการ

            1.3  จะปรากฏกลุ่มรหัสที่เลือกในช่อง พนักงานผู้รับผิดชอบตามที่เลือก จากนั้นกดปุ่ม “Enter” บนแป้นพิมพ์

            1.4  โปรแกรมจะแสดงเฉพาะรายการรหัสที่เลือก ตามรูป

2. การกรองข้อมูลโดยพิมพ์คำสำคัญในช่องข้อมูล

            เป็นการกรองข้อมูลสำหรับช่อง “หมวดหมู่” และ “พนักงานผู้รับผิดชอบ” โดยระบุรหัส หรือคำสำคัญในช่องข้อมูล เพื่อแสดงเฉพาะรายการรหัสที่ต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้
            2.1 คลิกช่องข้อมูลที่ต้องการ และระบุรหัส หรือคำสำคัญที่ช่องข้อมูล

            2.2 จากนั้นกดปุ่ม “Enter” บนแป้นพิมพ์ โปรแกรมจะแสดงเฉพาะรายการรหัสตามที่ระบุในช่องข้อมูล

รายละเอียดของข้อมูล วงเงินสดย่อย

ข้อมูล

ประเภท

ความยาว/Limit

รหัสวงเงิน

ตัวอักษร/ตัวเลข

25

รหัสพนักงาน

ตัวเลข

25

รายละเอียด (T/E)

ตัวอักษร/ตัวเลข

250

วงเงินสด

ตัวเลข

0-1 ล้าน

ผู้ใช้งานระบบ

ตัวอักษร/ตัวเลข

250

รหัสงาน

ตัวเลข

25

รหัสแผนก

ตัวเลข

25

รหัสเอกสาร

ตัวเลข

25

รหัสส่วนขยาย

ตัวเลข

25

รหัสบัญชี

ตัวเลข

25

รหัสจัดสรร

ตัวเลข

25

สมุดบัญชี

ตัวเลข

1-50

บันทึกช่วยจำ

ตัวอักษร/ตัวเลข

32000

      


    • Related Articles

    • การกลับขารายการบัญชีด้าน GL

      ขั้นตอนการกลับขารายการบัญชีด้าน GL มีขั้นตอนดังนี้                                                                                                                                    เข้าหน้าแสดงรายการใบสำคัญ โดยเลือกใบสำคัญที่ต้องการกลับขาบัญชี ...
    • 6. เงินทดรองจ่าย

      คำจำกัดความ             เงินทดรองจ่าย เป็นเมนูที่ใช้สำหรับบันทึกการเบิกเงินทดรองจ่ายครั้งแรก ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผู้ใช้งานที่ต้องการยื่นคำขอเบิกเงินทดรองจ่าย และผู้ใช้งานที่มีหน้าที่ในการบันทึกการเบิกเงินทดรองจ่าย ...
    • การคำนวณยกยอดไป GL

      ไม่สามารถเรียกรายงาน GL ปีปัจจุบันได้ โปรแกรมฟ้องเกินปีบัญชี ต้องทำการยกยอดไป GL -เข้าไปที่เมนูพิเศษ / เกี่ยวกับระบบ MAC-5 และจดเลข Customer ID ออกมา -ให้ทำการเก็บสำรองข้อมูลทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อน -เข้าคำสั่งในเมนูข้อมูล ทำการคำนวณยกยอดไป GL ...
    • เรียกรายงาน GL ปีปัจจุบันไม่ได้

      โปรแกรมฟ้องเกิน 1 ปีทางบัญชี ไม่สามารถเรียกรายงาน GL ปีปัจจุบันได้ ให้ตรวจสอบวันที่ต้นปีบัญชี (GL-BF มุมซ้ายล่าง) ว่าเกิน 5 ปีบัญชีหรือไม่ หากข้อมูลปีที่เรียก เกิน 5 ปีบัญชีจะไม่สามาารถเรียกรายงาน GL ปีปัจจุบันในโปรแกรมได้ จะต้องใทำการยกยอด GL ...
    • จะทำการยกยอด GL แต่โปรแกรมแจ้งให้ใส่เลขเฉพาะลูกค้าเพื่อยืนยันการทำงาน

      การยกยอด GL ผู้ใช้งานควรทำการเก็บสำรองข้อมูลทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อน  แล้วไปที่เมนู พิเศษ / เกี่ยวกับระบบ MAC-5 เพื่อนำเลข Customer ID (เลข 8 ตัว) ไประบุลงในช่องดังกล่าว