2. งบประมาณด้านสินค้า

2. งบประมาณด้านสินค้า

คำจำกัดความ

            งบประมาณด้านสินค้า (ระบบสินค้าคงคลัง) คือ การประมาณปริมาณสินค้าและยอดเงินรวมที่ใช้ในการปฏิบัติงานของงานและแผนก เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการควบคุมงบประมาณในการปฏิบัติงาน เช่น ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ต้องการควบคุมวัสดุในการก่อสร้างของแต่ละโครงการ หรือธุรกิจผลิตเพื่อขายที่ต้องการควบคุมต้นทุนในการผลิตสินค้าต่องานให้เป็นไปตามสูตรการผลิต


ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบ

             การจัดทำแผนงบประมาณจะต้องมีรหัสงานหรือรหัสแผนกเป็นหัวข้อของงบประมาณ ผู้ใช้งานสามารถกำหนดรหัสงานและรหัสแผนกคู่กัน หรือเลือกกำหนดแค่รหัสใดรหัสหนึ่งก็ได้ 

ขั้นตอนการตั้งงบประมาณ

1. การเพิ่มแผนงบประมาณให้คลิกที่ปุ่มคำสั่ง “New”


2. เมื่อคลิกที่ปุ่มคำสั่ง “New” แล้วจะปรากฏหน้าจอ สำหรับบันทึกรหัสงานและรหัสแผนก ดังนี้


                  1) ให้ผู้ใช้งานระบุรหัสงานและรหัสแผนกลงในช่องรหัสทั้งสอง โดยคลิกที่      หรือคลิกขวาที่ช่องรหัสเพื่อเลือกรหัสงานและรหัสแผนก
                  2) เมื่อเลือกรหัสงานแล้วช่องชื่อแผนงบประมาณ ทั้งภาษาไทย/อังกฤษ ชื่อแผนจะแสดงตามชื่อของรหัสงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดชื่อได้ ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดรหัสงานแต่กำหนดรหัสแผนก รายละเอียดชื่อแผนงบประมาณจะแสดงชื่อของแผนกแทน เมื่อระบุข้อมูลรหัสเรียบร้อยแล้วให้คลิก “OK” เพื่อบันทึกข้อมูล

3. เมื่อกำหนดแผนงบประมาณแล้ว หากต้องการกำหนดระยะเวลา, รหัสสินค้า, จำนวน และยอดเงินของแผนงบประมาณนี้ ให้คลิกที่แผนงานที่ต้องการกำหนด แล้วคลิกขวาที่ปุ่มคำสั่ง “New” จะปรากฏหน้าจอ สำหรับบันทึกข้อมูลดังกล่าวข้างต้น 


            การบันทึกจะเริ่มจากการกำหนดระยะเวลา โดยให้ระบุรายละเอียดข้อมูล ดังนี้

                  1) เดือน-ปี สำหรับระบุงบประมาณต่อเดือน ให้ระบุทั้งช่องเดือนและปี หากต้องการกำหนดงบประมาณต่อปีให้ใส่เฉพาะช่องปี และหากไม่มีกำหนดระยะเวลาไม่ต้องใส่ทั้งช่องเดือนและปี โดยปรกติโปรแกรมจะ Default เดือน-ปี ปัจจุบันให้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนเดือน-ปีได้ โดยคลิกที่ช่องแล้วระบุเดือน-ปีที่ต้องการ
                  2)  รหัสสินค้า สำหรับกำหนดรหัสสินค้าที่ต้องการตั้งงบประมาณ โดยคลิกที่     หรือคลิกขวาที่ช่องรหัสเพื่อเลือกรหัสสินค้า
                  3) จำนวน สำหรับระบุจำนวนสินค้า โดยโปรแกรมจะ Default หน่วยนับให้เป็นหน่วยนับเล็กสุด
                  4) ยอดงบประมาณ หมายถึง ยอดเงินรวมที่ตั้งไว้สำหรับสินค้าดังกล่าว แต่ถ้ารหัสสินค้าที่กำหนดนั้นมีสูตรการผลิต โปรแกรมจะนำสินค้าภายใต้สูตรการผลิตนั้นมาแสดงให้ ซึ่งสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้
            เมื่อระบุรายละเอียดเรียบร้อยแล้วให้คลิก “OK” เพื่อบันทึกข้อมูล ผู้ใช้งานสามารถกำหนดแผนงบประมาณได้ไม่จำกัด และใน 1 แผนงานสามารถกำหนดรหัสสินค้าได้ไม่จำกัดเช่นกัน

การกรองข้อมูลโดยใช้เมนูที่ส่วนท้ายหน้ารายการรหัส

            เป็นการกรองข้อมูลโดยใช้เมนูที่ส่วนท้ายหน้าแสดงรายการรหัส เพื่อเลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยหน้าแสดงรายการรหัสบัญชี สามารถเลือกกรองข้อมูลได้ 3 อย่าง ดังนี้


            1) หมวดหมู่งาน - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสงาน”
            2) หมวดหมู่แผนก - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสแผนก”
            3) ปีงบประมาณ - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “ปีงบประมาณที่ระบุ”

ขั้นตอนการกรองข้อมูล

1.  คลิกช่องข้อมูลที่ต้องการ และระบุรหัส หรือคำสำคัญที่ช่องข้อมูล


2. จากนั้นกดปุ่ม  “Enter”  บนแป้นพิมพ์ โปรแกรมจะแสดงเฉพาะรายการรหัสตามที่ระบุในช่องข้อมูล

รายละเอียดของข้อมูลงบประมาณ



ข้อมูล



ประเภท



ความยาว/Limit



Default



รหัสงาน



ตัวเลข



25


 


รหัสแผนก



ตัวเลข



25


 


ชื่อแผนงบประมาณ (ไทย)



ตัวเลข/ตัวอักษร



120


 


ชื่อแผนงบประมาณ ( Eng )



ตัวเลข/ตัวอักษร



120


 


เดือน



ตัวเลข



2



เดือนปัจจุบัน



ปี



ตัวเลข



4



ปีปัจจุบัน



รหัสสินค้า



ตัวเลข



50


 


จำนวน



ตัวเลข



18


 


ยอดงบประมาณ



ตัวเลข



18


 


หมายเหตุ
  1. รหัสงานและรหัสแผนกซ้ำกันไม่ได้ ถ้ารหัสซ้ำโปรแกรมจะไม่บันทึกลงฐานข้อมูลให้
  2. สามารถกำหนดรหัสสินค้าซ้ำกันได้ ภายใต้แผนงบประมาณเดียวกัน

    • Related Articles

    • 1. งบประมาณเชิงบัญชี

      คำจำกัดความ             งบประมาณเชิงบัญชี (ระบบบัญชีแยกประเภท) คือ การประมาณการยอดเงินในบัญชีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และได้เตรียมการจัดสรรตัวเลขไว้ให้เป็นไปตามแผนการบริหารงาน สามารถบันทึกยอดงบประมาณได้โดยไม่จำกัดเดือน ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบ ...
    • 7. รายงานสินค้าประเภท Serial/Lot

      คลิกที่เอกสารแนบเพื่อดูเกี่ยวกับรายงานสินค้าประเภท Serial/Lot
    • 2. รายงานวิเคราะห์งบประมาณเชิงบัญชีและตัวแปร

      คลิกที่เอกสารแนบเพื่อดูรายงาน วิเคราะห์งบประมาณเชิงบัญชีและตัวแปร                                                                   
    • 1. รายงานงบประมาณเชิงบัญชี

      คลิกที่เอกสารแนบเพื่อดูรายงาน งบประมาณเชิงบัญชี
    • วิเคราะห์ใบสั่งซื้อ

      คลิกที่เอกสารแนบเพื่อดูเกี่ยวกับรายงานวิเคราะห์ใบสั่งซื้อ