6. เงินทดรองจ่าย

6. เงินทดรองจ่าย

คำจำกัดความ

            เงินทดรองจ่าย เป็นเมนูที่ใช้สำหรับบันทึกการเบิกเงินทดรองจ่ายครั้งแรก ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผู้ใช้งานที่ต้องการยื่นคำขอเบิกเงินทดรองจ่าย และผู้ใช้งานที่มีหน้าที่ในการบันทึกการเบิกเงินทดรองจ่าย (ขึ้นอยู่กับการวางระบบการทำงานของแต่ละองค์กร)

ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบ

            การตั้งรหัสวงเงินมีการกำหนดผู้ใช้งานที่สามารถทำการเบิกจ่ายและเคลียร์วงเงิน ดังนั้นในหน้าการบันทึกใบสำคัญระบบเงินสดย่อยและทดรองจ่าย ผู้ใช้งานที่ถูกกำหนดไว้ในการตั้งรหัสวงเงินเท่านั้นที่จะสามารถเข้าทำงานในระบบดังกล่าวนี้ได้ และในส่วนของรายงานจะแสดงเฉพาะรหัสวงเงินที่ผู้ใช้หนึ่ง ๆ มีสิทธิในการทำงานของวงเงินนั้นเท่านั้น

ขั้นตอนการตั้งวงเงินทดรองจ่าย

1. การกำหนดวงเงินทดรองจ่ายให้คลิกที่ปุ่ม “New” เพื่อเพิ่มรายละเอียดให้แก่วงเงินที่ต้องการกำหนด

2. เมื่อคลิกที่ปุ่ม “New” แล้วจะพบหน้าจอ สำหรับเพิ่มข้อมูลวงเงินทดรองจ่าย โดยแต่ละช่องมีรายละเอียดดังนี้

1. รหัสวงเงิน การตั้งรหัสวงเงินผู้ใช้งานสามารถกำหนดได้เอง การระบุให้พิมพ์ชื่อรหัสลงในช่อง การตั้งชื่อรหัสสามารถระบุได้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข โดยจะใช้เป็นตัวอักษรย่อ หรือเลขรหัส อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างผสมกันก็ได้ สามารถระบุได้ความยาวสูงสุด 25 ตัวอักษร/ตัวเลข
2. พนักงานผู้รับผิดชอบ คือ พนักงานผู้ถือวงเงิน ซึ่งพนักงานคนนี้อาจเป็นผู้เบิก หรือเคลียร์วงเงินเองก็ได้ หากเป็นผู้ใช้งานระบบด้วย ขึ้นอยู่กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
            โปรแกรมบังคับให้ต้องระบุพนักงานผู้รับผิดชอบวงเงิน เพื่อให้ทราบว่าวงเงินที่กำหนดขึ้นใครเป็นผู้ใช้วงเงินนี้ วิธีการระบุพนักงานให้คลิกที่ช่องแล้วพิมพ์รหัสพนักงาน หรือคลิกที่ Icon  จะปรากฏหน้าต่างแสดงรายการรหัสพนักงาน คลิกเลือกรหัสพนักงานผู้ถือวงเงินลงในช่องนี้

3.รายละเอียด (T/E) สำหรับระบุรายละเอียดของวงเงินว่าจะใช้ในเรื่องใด เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ของวงเงิน โดยระบุรายละเอียดเป็นภาษาไทยในช่อง (T) และระบุรายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษในช่อง (E) โดยจะระบุเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งหรือทั้งสองภาษาก็ได้ วิธีการระบุให้คลิกที่ช่องแล้วพิมพ์รายละเอียดลงไปแล้วกด Enter
4. วงเงินสด สำหรับระบุวงเงินที่ต้องการกำหนด ซึ่งสามารถตั้งวงเงินได้สูงสุดถึง 1 ล้าน การระบุวงเงินให้คลิกที่ช่องแล้วพิมพ์จำนวนเงินลงไปแล้วกด Enter หากวงเงินที่ตั้งขึ้นเป็นวงเงินหลัก เมื่อบันทึกแล้วจะไม่สามารถแก้ไขวงเงินหลักได้อีก จะแก้ไขได้เฉพาะวงเงินที่เป็นหัวข้อย่อยเท่านั้น โดยวงเงินหลักจะปรับตามหัวข้อย่อย
5. หัวข้อย่อย สำหรับกำหนดหัวข้อย่อยให้แก่วงเงินทดรองจ่าย เพื่อแจกแจงการใช้วงเงินว่าใช้ในเรื่องใดบ้าง
            การเพิ่มรายการเงินทดรองให้เป็นหัวข้อย่อยลงมาจากหัวข้อเงินทดรองหลัก ให้ระบุเลขหัวข้อย่อยลงในช่องนี้ โดยระบุเป็นเลขลำดับตั้งแต่ 1 เป็นต้นไป และจะต้องตั้งรหัสวงเงินเป็นรหัสเดียวกันกับรหัสวงเงินหัวข้อหลัก (โปรแกรมจะบันทึกหัวข้อย่อยตามรหัสวงเงินของหัวข้อหลัก)

เมื่อบันทึกรหัสวงเงินแล้วสีของตัวอักษรในหัวข้อย่อยจะแสดงเป็นสีเทา ดังรูปตัวอย่างนี้

            การ Lock หรือ Active รหัสวงเงินจะทำที่รหัสหลักเพียงอย่างเดียว โปรแกรมจะทำการ Lock/Active รายการรหัสลูกให้ทั้งหมด

6. ผู้ใช้งานที่ทำการเบิกได้ คือผู้ใช้งานระบบที่มีหน้าที่บันทึกเบิกเงินทดรองจ่าย โดยสามารถระบุผู้ใช้งานระบบได้หลายคนโดยการใส่เครื่องหมาย , (ลูกน้ำ) คั่นไว้ ผู้เบิกจ่ายอาจเป็นพนักงานผู้ถือวงเงินเอง หรือเป็นผู้ใช้งานที่เคลียร์วงเงินด้วยก็ได้ ซึ่งโปรแกรมบังคับให้ต้องระบุผู้ใช้งานที่ทำการเบิกวงเงิน เพื่อเป็นการกำหนดผู้มีสิทธิในการเบิกวงเงินทดรองจ่าย
            วิธีการระบุผู้ใช้งาน ให้คลิกที่ช่องแล้วพิมพ์ชื่อผู้ใช้งานระบบ หรือคลิกที่ Icon  จะปรากฏหน้าต่างแสดงรายชื่อผู้ใช้งานระบบ ให้คลิกเลือกผู้ใช้งานระบบจากหน้าต่างนี้
            หากต้องการเลือกผู้ใช้งานระบบหลายคนให้คลิกเลือกผู้ใช้งานแล้วคลิก “OK” หรือกด Enter แล้วคลิกที่ Icon  อีกครั้งเพื่อเลือกผู้ใช้งานเพิ่ม โปรแกรมจะใส่เครื่องหมาย , (ลูกน้ำ) คั่นผู้ใช้งานให้โดยอัตโนมัติ
7. ผู้ใช้งานที่ทำการเคลียร์ได้ คือผู้ใช้งานระบบที่มีหน้าที่บันทึกค่าใช้จ่ายวงเงินทดรองจ่ายว่าเหลือเท่าใด ใช้ไปเท่าใด โดยสามารถระบุผู้ใช้งานระบบได้หลายคนโดยการใส่เครื่องหมาย , (ลูกน้ำ) คั่นไว้ ผู้บันทึกค่าใช้จ่ายอาจเป็นพนักงานผู้ถือวงเงินเอง หรือเป็นผู้ใช้งานที่เบิกจ่ายวงเงินด้วยก็ได้ ซึ่งโปรแกรมบังคับให้ต้องระบุผู้ใช้งานที่ทำการบันทึกค่าใช้จ่ายวงเงิน เพื่อเป็นการกำหนดผู้มีสิทธิในการเคลียร์วงเงิน
            วิธีการเลือกผู้ใช้งานระบบใช้วิธีเดียวกันกับ “ผู้ใช้งานที่ทำการเบิกได้” ดูรายละเอียดได้ที่หัวข้อดังกล่าวนี้
8. รหัสตัวแปร สำหรับระบุรหัสตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ รหัสงาน, รหัสแผนก, รหัสเอกสาร และรหัสส่วนขยาย การระบุรหัสตัวแปรเพื่อให้ทราบว่าวงเงินสดนี้จะใช้กับงานใด แผนกใด ใช้เอกสารใดบ้าง
            การระบุรหัสตัวแปร ให้คลิกที่ช่องเพื่อพิมพ์รหัส หรือคลิกที่ Icon  เพื่อเลือกรหัสจากหน้าต่างแสดงรายการรหัส

9. ระยะเวลา สำหรับกำหนดระยะเวลาของการใช้เงินทดรองจ่าย โดยระบุวัน/เดือน/ปี จากวันที่เริ่มใช้เงินทดรองจ่าย จนถึงวันที่สิ้นสุดการใช้เงินทดรองจ่าย
10.  รหัสบัญชีวงเงินสด สำหรับระบุรหัสบัญชีที่ใช้ในการฝากวงเงินทดรองจ่าย โปรแกรมบังคับให้ระบุรหัสบัญชีให้แก่ช่องข้อมูลนี้ เพื่อให้ทราบว่าวงเงินที่ได้ทำการเบิกไปแล้วอยู่ในบัญชีใด การระบุรหัสบัญชีให้คลิกที่ช่องแล้วพิมพ์รหัสบัญชี หรือคลิกที่ Icon  จะปรากฏหน้าต่างสำหรับเลือกรหัสบัญชี

11. บัญชีธนาคาร (เบิกจ่าย) สำหรับกำหนดรหัสบัญชีที่ใช้ในการเบิกวงเงินทดรองจ่าย ซึ่งจะเป็นบัญชีเดียวกับบัญชีวงเงินสดก็ได้ การระบุรหัสบัญชีจะใช้วิธีเดียวกับการกำหนดรหัสบัญชีที่เคยกล่าวไว้ในข้อก่อนหน้านี้ ช่องข้อมูลนี้เป็นช่องข้อมูลบังคับ ต้องกำหนดรหัสบัญชีให้แก่บัญชีธนาคารเบิกจ่ายก่อนการบันทึก
12. บัญชีค่าใช้จ่าย/สูตรจัดสรร เป็นส่วนที่ใช้กำหนดบัญชีค่าใช้จ่ายว่าจะใช้เป็นแบบรหัสบัญชี หรือจะใช้เป็นรหัสจัดสรร การกำหนดจะใช้วิธีคลิกเลือกที่  ข้อเลือกในหน้าจอ ก่อนระบุบัญชีค่าใช้จ่าย

            เมื่อเลือกรูปแบบบัญชีแล้ว โปรแกรมจะปรับช่องสำหรับระบุรหัสให้ตามข้อเลือกที่ถูกเลือก โดยหากเลือกบัญชีค่าใช้จ่ายช่องข้อมูลจะให้ระบุรหัสบัญชี แต่หากเลือกสูตรบัญชี-รหัสจัดสรร ช่องข้อมูลจะให้ระบุรหัสจัดสรร โปรแกรมบังคับให้ต้องระบุรูปแบบบัญชีค่าใช้จ่าย ผู้ใช้งานต้องระบุข้อมูลลงในช่องนี้ก่อนทำการบันทึก
13. สมุดบัญชีเบิกจ่าย/เคลียร์ เป็นการกำหนดสมุดบัญชีสำหรับเบิกหรือเคลียร์ค่าใช้จ่ายของวงเงิน ซึ่งจะไม่กำหนดสมุดบัญชีนี้ก็ได้ การระบุสมุดบัญชีให้คลิกที่ช่องแล้วพิมพ์เลขสมุดบัญชีลงในช่อง (สมุดบัญชีมาจากการกำหนดรหัสสมุดและสูตรบัญชีที่หน้าผังบัญชี)
14. เรียงเลขใบสำคัญ เป็นรูปแบบของเลขใบสำคัญโดย การกำหนดรูปแบบเลขใบสำคัญจะต้องใส่รหัสสมุดก่อนจึงจะเลือกรูปแบบได้ ซึ่งมี 2 รูปแบบ ดังนี้
  1. 0X-YYMM-XXXX เป็นรูปแบบหมายเลขใบสำคัญที่แสดงปีเป็นสากล ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
    1. 0X เป็นเลขสมุดบัญชี ซึ่งโปรแกรมจะตั้งตามเลขสมุดที่ตั้งไว้ในช่องสมุด
    2. YY คือปี ค.ศ. (คริสต์ศักราช) ที่ทำการบันทึก
    3. MM คือเดือนที่ทำการบันทึก
    4. XXXX คือเลขที่ใบสำคัญ โดยใบแรกจะเริ่มที่ 0001 ใบต่อไปจะ Run เลขไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ

            เมื่อเลือกใช้รูปแบบนี้ให้คลิกที่ "Options" แล้วเลือก "ใส่หมายเลขใบสำคัญ (Run No)" โปรแกรมจะใส่หมายเลขใบสำคัญให้อัตโนมัติ

  1. 0X-ปปMM-XXXX เป็นรูปแบบหมายเลขใบสำคัญ ซึ่งมีวิธีการใส่หมายเลขเป็นเช่นเดียวกับรูปแบบ 0X-YYMM-XXXX ต่างกันเพียงรูปแบบนี้แสดงเป็นปีไทย พ.ศ. (พุทธศักราช)

15. Memo เป็นบันทึกช่วยจำที่ใช้ระบุรายละเอียดของวงเงิน เพื่อให้ทราบข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่โปรแกรมให้ระบุลงในช่องข้อมูล สามารถบันทึกได้สูงสุด32000 ตัวอักษร วิธีการบันทึกให้พิมพ์รายละเอียดลงในกล่องบันทึกช่วยจำแล้วคลิก “OK” เพื่อบันทึก


16. Attached file ใช้สำหรับแนบไฟล์ เพื่ออ้างอิงข้อมูลเพื่มเติม สามารถเปิดใช้งานผ่าน DI : YE-AF01
3. การแก้ไขเพิ่มเติมวงเงินทดรองจ่าย ให้คลิกที่ “Edit” จะปรากฏหน้าจอสำหรับแก้ไขข้อมูลที่ได้บันทึกไว้แล้ว สามารถแก้ไขข้อมูลได้ทุกช่องยกเว้น “รหัสวงเงิน” เมื่อบันทึกแล้วจะไม่สามารถแก้ไขรหัสวงเงินได้อีก

การกรองข้อมูลโดยใช้เมนูที่ส่วนท้ายหน้ารายการรหัส

            เป็นการกรองข้อมูลโดยใช้เมนูที่ส่วนท้ายหน้าแสดงรายการรหัส เพื่อเลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยหน้าแสดงรายการรหัสวงเงินทดรองจ่าย สามารถเลือกกรองข้อมูลได้ 2 อย่าง ดังนี้

1)      หมวดหมู่ - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสวงเงิน”
2)      พนักงานผู้รับผิดชอบ - เลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ตาม “รหัสพนักงาน”

ขั้นตอนการกรองข้อมูล

สามารถเลือกแสดงข้อมูลในหน้าแสดงรายการรหัสวงเงินทดรองจ่าย ได้ 2 วิธี ดังนี้

1.  การกรองข้อมูลโดยคลิกที่ Icon ในช่องข้อมูล

เป็นการกรองข้อมูลสำหรับช่อง “พนักงานผู้รับผิดชอบ” โดยใช้ Icon  เพื่อแสดงเฉพาะรายการกลุ่มที่ต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้
            1.1 คลิกที่ Icon ในช่องข้อมูล เพื่อแสดงหน้าจอรายการรหัส

            1.2 เลือกรหัสที่ต้องการ และคลิกที่ปุ่ม “OK” เพื่อยืนยัน หรือดับเบิลคลิกเลือกกลุ่มที่ต้องการ

            1.3  จะปรากฏกลุ่มรหัสที่เลือกในช่อง พนักงานผู้รับผิดชอบ” ตามที่เลือก จากนั้นกดปุ่ม “Enter” บนแป้นพิมพ์

            1.4 โปรแกรมจะแสดงเฉพาะรายการรหัสที่เลือก ตามรูป

2. การกรองข้อมูลโดยพิมพ์คำสำคัญในช่องข้อมูล

            เป็นการกรองข้อมูลสำหรับช่อง “หมวดหมู่” และ “พนักงานผู้รับผิดชอบ” โดยระบุรหัส หรือคำสำคัญในช่องข้อมูล เพื่อแสดงเฉพาะรายการรหัสที่ต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้
            2.1  คลิกช่องข้อมูลที่ต้องการ และระบุรหัส หรือคำสำคัญที่ช่องข้อมูล

            2.2 จากนั้นกดปุ่ม “Enter” บนแป้นพิมพ์ โปรแกรมจะแสดงเฉพาะรายการรหัสตามที่ระบุในช่องข้อมูล

รายละเอียดของข้อมูล วงเงินทดรองจ่าย

ข้อมูล

ประเภท

ความยาว/Limit

รหัสวงเงิน

ตัวอักษร/ตัวเลข

25

รหัสพนักงาน

ตัวเลข

25

รายละเอียด (T/E)

ตัวอักษร/ตัวเลข

250

วงเงินสด

ตัวเลข

0-1 ล้าน

หัวข้อย่อย

ตัวเลข

10

ผู้ใช้งานระบบ

ตัวอักษร/ตัวเลข

250

รหัสงาน

ตัวเลข

25

รหัสแผนก

ตัวเลข

25

รหัสเอกสาร

ตัวเลข

25

รหัสส่วนขยาย

ตัวเลข

25

รหัสบัญชี

ตัวเลข

25

รหัสจัดสรร

ตัวเลข

25

สมุดบัญชี

ตัวเลข

1-50

บันทึกช่วยจำ

ตัวอักษร/ตัวเลข

32000


    • Related Articles

    • การกลับขารายการบัญชีด้าน GL

      ขั้นตอนการกลับขารายการบัญชีด้าน GL มีขั้นตอนดังนี้                                                                                                                                    เข้าหน้าแสดงรายการใบสำคัญ โดยเลือกใบสำคัญที่ต้องการกลับขาบัญชี ...
    • การคำนวณยกยอดไป GL

      ไม่สามารถเรียกรายงาน GL ปีปัจจุบันได้ โปรแกรมฟ้องเกินปีบัญชี ต้องทำการยกยอดไป GL -เข้าไปที่เมนูพิเศษ / เกี่ยวกับระบบ MAC-5 และจดเลข Customer ID ออกมา -ให้ทำการเก็บสำรองข้อมูลทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อน -เข้าคำสั่งในเมนูข้อมูล ทำการคำนวณยกยอดไป GL ...
    • 5. เงินสดย่อย

      คำจำกัดความ              เงินสดย่อย เป็นเมนูสำหรับควบคุม และตั้งวงเงินสดย่อยให้แก่พนักงานในองค์กร เพื่อให้พนักงานจัดการซื้อขายได้ ก่อนที่จะบันทึกใบสำคัญในระบบเงินสดย่อย (PA) จะต้องกำหนดวงเงินที่หน้ารหัสนี้ก่อน ...
    • เรียกรายงาน GL ปีปัจจุบันไม่ได้

      โปรแกรมฟ้องเกิน 1 ปีทางบัญชี ไม่สามารถเรียกรายงาน GL ปีปัจจุบันได้ ให้ตรวจสอบวันที่ต้นปีบัญชี (GL-BF มุมซ้ายล่าง) ว่าเกิน 5 ปีบัญชีหรือไม่ หากข้อมูลปีที่เรียก เกิน 5 ปีบัญชีจะไม่สามาารถเรียกรายงาน GL ปีปัจจุบันในโปรแกรมได้ จะต้องใทำการยกยอด GL ...
    • จะทำการยกยอด GL แต่โปรแกรมแจ้งให้ใส่เลขเฉพาะลูกค้าเพื่อยืนยันการทำงาน

      การยกยอด GL ผู้ใช้งานควรทำการเก็บสำรองข้อมูลทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อน  แล้วไปที่เมนู พิเศษ / เกี่ยวกับระบบ MAC-5 เพื่อนำเลข Customer ID (เลข 8 ตัว) ไประบุลงในช่องดังกล่าว